วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการฝึกพิมพ์


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการฝึกพิมพ์
การนั่งที่ถูกวิธี

1.      นั่งตัวตรงและเอนลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยโดยลำตัวอยู่ห่างจากขอบโต๊ะประมาณ  1  คืบ
2.     

เท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้นโดยให้เท้าข้างใดข้างหนึ่งวางเหลื่อมกันเล็กน้อย
3.      ข้อศอกอยู่ข้างลำตัว
4.      แขนท่อนล่างทำมุมประมาณ  30  องศากับโต๊ะ
5.      คอตั้งตรง
6.      ศีรษะหันไปทางขวาเล็กน้อยเพื่ออ่านเอกสาร
7.      ส่วนโต๊ะคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควรจะมีความสูงประมาณ  28  นิ้ว

  ข้อควรระวัง
1.      อย่านั่งหลังงอและนั่งไขว่ห้างเพราะจะทำให้เสียบุคลิกและทำให้ปวดหลัง
2.      ตามองที่แบบพิมพ์เท่านั้น
การวางมือ
            การพิมพ์งานควรวางมือทั้งสองข้างลาดต่ำลงขนานกับแป้นอักษรให้เป็นเส้นตรงกับข้างแขน  ส่วนนิ้วมือให้งอ



 


 ข้อควรระวัง
ห้ามมิให้ข้อมือทั้งสองโดนขอบแป้นคีย์บอร์ดหรือขอบโต๊ะโดยเด็ดขาด 
เพราะจะทำให้ยากแก่การเก้านิ้ว  และควรจะตัดเล็บให้สั้นเพื่อสะดวกในการเคาะแป้นอักษร
การวางนิ้ว
            ตำแหน่งของนิ้วมือทั้ง  2  ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ  ให้วางอยู่บนแป้นอักษรแถวที่  2  นับจากอักษรแถวล่างขึ้นไป  หรือที่เรียกว่า  แป้นเหย้า  เวลาพิมพ์ให้งอนิ้ว ทุก ๆ นิ้วไว้เสมอ

การสืบนิ้ว
            ให้วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่อักษรแป้นเหย้า  การสืบนิ้วไปยังแป้นอักษรต่างๆ ขอให้ผู้ฝึกจงสืบนิ้วนั้นไปยังศูนย์กลางของแป้นอักษรต่าง ๆ เท่านั้น  อย่าเคลื่อนมือหรือนิ้วอื่น ๆ ตามไปด้วย  แล้วเมื่อสืบนิ้วแล้วให้ชักนิ้วกลับมายังแป้นเหย้าเสมอ  การสืบนิ้วให้ฝึกทำเช่นนี้โดยทำกันหลาย ๆ ครั้ง และสลับกันจนคล่องแคล่วฝึกจนเกิดความชำนาญ
 
การเคาะแป้นเว้นวรรค
            แป้นเว้นวรรคเป็นแป้นยาวอยู่ใต้แป้นอักษรล่างสุด  ใช้สำหรับเคาะเมื่อจะเว้นวรรค  ใช้นิ้วหัวแม่มือเพื่อเคาะเท่านั้น  เคาที่ปุ่ม  <Spacebar>  มีวิธีการปฏิบัติคือ
1.      นิ้วทุกนิ้วยกเว้นนิ้วหัวแม่มือต้องวางประจำอยู่บนอักษรแป้นเหย้าเสมอ
2.      การฝึกเคาะเว้นวรรคควรฝึกใช้ทั้ง  2  นิ้วหัวแม่มือเคาะ  เพื่อความสะดวกในการผลัดกันทำงานของทั้ง  2  นิ้ว
3.      ระวังอย่าให้ข้อมือห้อยต่ำจนสัมผัสเครื่องพิมพ์  รักษาระดับให้อยู่ในแนวเดียวกับหลังมือ
4.      การพิมพ์และเว้นวรรคให้เคาะจังหวัดสลับกัน  อย่าพิมพ์และเคาะเว้นวรรคไปพร้อมกัน
5.      ข้อศอกและแขนจะไม่เคลื่อนไหวขณะที่นั่งทำงาน
         6.     ข้อมือให้อยู่กับที่เคลื่อนไหวน้อยที่สุด
 
การยกแคร่
            ผู้ฝึกพิมพ์จะต้องสร้างทักษะให้การคลิกปุ่มยกแคร่  ได้แก่ปุ่ม  <Shift>  เมื่อผู้ฝึกพิมพ์ใช้มือขวาในการพิมพ์  ให้ใช้นิ้วก้อยซ้ายกดแป้นยกแคร่  และเมื่อผู้ฝึกพิมพ์ใช้มือซ้ายในการพิมพ์  ให้ใช้นิ้วก้อยขวากดแป้นยกแคร่แทน


4 ความคิดเห็น: